Thursday, March 9, 2017

Conditions For Ill Deeds

Image may contain: flower
Ill deeds are called in Pāli: akusala kamma. Kamma is the cetasika (mental factor arising with the citta) which is 'intention' or 'volition’, in Pāli: cetanā. However, the word 'kamma' is also used in a more general sense for the deeds which are intended by cetanā. The term 'kamma-patha' (literally 'course of action') is used as well in this sense. There are akusala kamma-pathas and kusala kamma-pathas, ill deeds and good deeds, accomplished through body, speech and mind (which are the ones that accrue "good kamma" or "bad kamma" and will bring good or bad results including rebirth in the happy realms or lower four realms).
As regards akusala kamma-patha, there are ten akusala kamma-pathas and these are conditioned by lobha (attachment), dosa (aversion), and moha. Moha, ignorance, accompanies every akusala citta, it is the root of all evil. Thus, whenever there is akusala kamma-patha, there must be moha. Some akusala kamma-pathas can sometimes be performed with lobha-mūla-citta and sometimes with dosa-mūla-citta. Therefore, when we see someone else committing an ill deed we cannot always be sure which kind of citta motivates that deed.
The ten akusala kamma-pathas are the following:
1. Killing
2. Stealing
3. Sexual misbehaviour
4. Lying
5. Slandering
6. Rude speech
7. Frivolous talk
8. Covetousness
9. Ill-will
10 Wrong view (ditthi)
Killing, stealing and sexual misbehaviour are three akusala kamma-pathas accomplished through the body. Lying, slandering, rude speech and frivolous talk are four akusala kamma-pathas accomplished through speech. Covetousness, ill-will and wrong view are three akusala kamma-pathas accomplished through the mind. As regards akusala kamma-patha through the body, killing is done with dosa-mula-citta. Stealing can sometimes be performed with lobha-mula-citta and sometimes with dosa-mula-citta. It is done with lobha-mula-citta if one wishes to take what belongs to someone else in order to enjoy it oneself. It is done with dosa-mula-citta if one wishes someone else to suffer damage. Sexual misbehaviour is performed with lobha-mula-citta.
As far as the akusala kamma-pathas through speech are concerned, lying, slandering and frivolous talk are performed with lobha-mūla-citta if one wishes to obtain something for oneself, or if one wishes to endear oneself to other people. As regards lying, we may think that there is no harm in a so-called 'white lie' or a lie said for fun. However, all kinds of lies are motivated by akusala cittas.
We read in the 'Discourse on an exhortation to Rāhula at Ambalatthikā’ (Middle Length Sayings II, no. 61, Bhikkhu-vagga) that the Buddha spoke to his son Rāhula about lying. The Buddha said:
"Even so, Rāhula, of anyone for whom
there is no shame at intentional lying,
of him I say that there is no evil he cannot do.
Wherefore, for you, Rāhula,
'I will not speak a lie, even for fun' - -
this is how you must train yourself, Rāhula."
Lying can also be done with dosa-mūla-citta and this is the case when one wants to harm someone else.
As regards slandering, we all are inclined to talk about other. When there is no intention to harm the reputation of others, there is no akusala kamma-patha. However, when talking about others becomes a habit, there can easily be an occasion for akusala kamma-patha. This kind of akusala kamma-patha is performed with lobha-mūla-citta if one slanders in order to obtain something for oneself or to please others. It is performed with dosa-mūla-citta if one wants to harm someone else. We will be less inclined to talk about others or to judge them when we see ourselves and others as phenomena which arise because of conditions and which do not stay. At the moment we talk about other people's actions, these phenomena have fallen away already. What they said or did exists no more.
Rude speech is performed with dosa-mūla-citta.
Frivolous talk is talk about idle, senseless things. This kind of talk can be performed with lobha-mūla-citta or by dosa-mūla-citta. Frivolous talk is not always akusala kamma patha. It can be done with by akusala citta which does not have the intensity of akusala kamma-patha.
As regards akusala kamma-patha through the mind, ill-will, the intention to hurt or harm someone else is performed with dosa-mūla-citta and covetousness and wrong view are performed with lobha-mūla-citta. There is akusala kamma-patha which is covetousness when one intends to obtain by dishonest means what belongs to someone else.
As regards ditthi (wrong view), there are many kinds of ditthi; however, three kinds of ditthi are akusala kamma-patha through the mind. One of them is ahetuka-ditthi, the belief that there is no cause for the existence of beings and no cause for their purity or corruption.
Another wrong view which is akusala kamma-patha through the mind is akiriya-ditthi, the belief that there are no good and bad deeds which produce their results.
The third wrong view which is akusala kamma-patha through the mind is natthika-ditthi or annihilation view. Natthika-ditthi is the belief that there is no result of kamma and that there is no further life after death.
- Abhidhamma in Daily Life
By Nina Nan Gorkom
เหตุปัจจัยในการทำอกุศลกรรม
การกระทำชั่ว ภาษาบาลีเรียกว่า อกุศลกรรม กรรมเป็น เจตสิกธรรม (นามธรรมที่เกิดร่วมกับจิต) ซึ่งเป็น ความตั้งใจ หรือ ความจงใจ ภาษาบาลีเรียกว่า เจตนา คำว่า "กรรม" โดยทั่วไปหมายถึง การกระทำ ซึ่งเกิดจากเจตนาที่จงใจ คำว่า "กรรมบถ" (โดยพยัญชนะหมายความว่า ทางแห่งการกระทำ) หมายถึงเจตสิกนี้ด้วย กรรมมีทั้งอกุศลกรรมบท และกุศลกรรมบทซึ่งเป็นการกระทำ ทางกาย วาจาและใจ (ซึ่งสามารถให้ผลในโลกนี้และนำไปสู่สุขคติภูมิหรือทุกขติภูมิในภพต่อไป)
อกุศลกรรมบทมี 10 อย่าง ซึ่งมีโลภะ โทสะ และโมหะ เป็นเหตุปัจจัยให้เกิด โมหะหรืออวิชชาเกิดกับอกุศลจิตทุกดวง โมหะเป็นรากเหง้าของของอกุศลทั้งปวง ขณะใดที่เป็นอกุศลกรรมบท ขณะนั้นต้องมีโมหะ อกุศลกรรมบทบางอย่างเกิดเพราะโลภมูลจิต และบางอย่างก็เกิดเพราะโทสมูลจิต เพราะฉะนั้น เวลาเห็นใครทำอกุศลกรรม เราจึงไม่อาจรู้ได้แน่ชัดว่า กรรมนั้นเกิดจากจิตประเภทใด
อกุศลกรรมบท 10 คือ
1. การฆ่า
2. การถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้
3. การประพฤติผิดในกาม
4. การพูดเท็จ
5. การพูดส่อเสียด
6. การพูดคำหยาบ
7. การพูดเพ้อเจ้อ
8. การเพ่งเล็งอยากได้ของ ๆ ผู้อื่นมาเป็นของตน
9. การคิดร้ายเบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อน
10. การเห็นผิด (ทิฏฐิ)
การฆ่า การลักทรัพย์ และการประพฤติผิดในกามเป็นอกุศลกรรมบททางกาย การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดคำหยาบ และการพูดเพ้อเจ้อเป็นอกุศลกรรมบททางวาจา การเพ่งเล็งอยากได้ของของผู้อื่น การคิดร้าย และการเห็นผิด เป็นอกุศลกรรมบททางใจ
สำหรับอกุศลกรรมบททางกายนั้น การฆ่าเกิดจากโทสมูลจิต การลักทรัพย์บางครั้งเกิดจากโลภมูลจิตและบางครั้งก็เกิดจากโทสมูลจิต ถ้าอยากได้ของของผู้อื่นเพราะต้องการของนั้น การลักทรัพย์นั้นก็กระทำด้วยโลภมูลจิต ถ้าเอาของของคนอื่นไปเพราะต้องการให้เขาเดือดร้อน การกระทำนั้นก็ทำไปด้วยโทสมูลจิต ส่วนการประพฤติผิดในกามนั้นกระทำด้วยโลภมูลจิต
สำหรับอกุศลกรรมบททางวาจานั้น การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด และการพูดเพ้อเจ้อ มีโลภมูลจิตเป็นเหตุ เมื่ออยากได้อะไรหรืออยากให้ตนเองเป็นที่รักของตนอื่น
ในเรื่องการพูดเท็จ เราอาจคิดว่าการพูดเท็จโดยไม่เจตนาร้ายหรือเพื่อสนุกสนานนั้นจะไม่เป็นโทษภัย แต่การพูดเท็จทุกอย่างกระทำไปด้วยอกุศลจิตเป็นเหตุ ในมัขฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ภิกขุวรรค จูฬราหุโลวาทสูตร พระผู้มีพระภาคตรัสกะท่านพระราหุลผู้เป็นพระโอรสเรื่องการพูดเท็จว่า
"ดูกร ราหุล เรากล่าวว่า บุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสาทั้งที่รู้อยู่ ที่จะไม่ทำบาปแม้น้อยหนึ่งไม่มี ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุนั้นแหละ ราหุล เธอพึงศึกษาว่า เราจะไม่กล่าวมุสา แม้เพราะหัวเราะกันเล่น ดูกร ราหุล เธอพึงศึกษาอย่างนี้แลฯ"
การพูดเท็จมีโทสมูลจิตเป็นเหตุก็ได้ หากผู้พูดต้องการให้ผู้อื่นเดือดร้อน
การพูดส่อเสียดนั้น เราทุกคนมักจะกล่าวถึงผู้อื่น แต่ถ้าไม่มีเจตนาที่จะทำลายชื่อเสียงของคนอื่น ก็ไม่เป็นอกุศลกรรมบถ แต่ถ้าพูดจนเป็นนิสัย โอกาสที่จะเป็นอกุศลกรรมบถก็ง่ายขึ้น อกุศลกรรมบถประเภทนี้กระทำไปด้วยโลภมูลจิตเป็นเหตุ เมื่อกล่าวร้ายเพื่อประโยชน์ตนหรือเพื่อให้คนอื่นพอใจ เมื่อมุ่งร้ายบุคคลอื่นก็มีโทสมูลจิตเป็นปัจจัย เราจะพูดเรื่องคนอื่นหรือวิจารณ์คนอื่นน้อยลง เมื่อรู้ว่าทั้งตัวเราเองและคนอื่นนั้นเป็นสภาพธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยและไม่เที่ยง ขณะที่พูดเรื่องการกระทำของคนอื่น สภาพธรรมเหล่านั้นก็ดับไปแล้ว เรื่องที่คนอื่นพูดหรือทำก็หมดสิ้นไปแล้ว
การพูดคำหยาบมีโทสมูลจิตเป็นปัจจัย
การพูดเพ้อเจ้อเป็นการพูดเรื่องไร้สารประโยชน์ การพูดเพ้อเจ้ออาจมีโลภมูลจิตหรือโทสมูลจิตเป็นเหตุ และไม่จำเป็นต้องเป็นอกุศลกรรมบถเสมอไป แต่มีอกุศลจิตเป็นปัจจัย ซึ่งไม่แรงถึงขั้นอกุศลกรรมบถ
อกุศลกรรมบถทางใจ คือ พยาบาท การมุ่งร้าย เบียดเบียนคนอื่น มีโทสมูลจิตเป็นปัจจัย ส่วนการเพ่งเล็งอยากได้ของของคนอื่นและความเห็นผิดนั้น มีโลภมูลจิตเป็นปัจจัย เจตนาที่จะเอาวัตถุสิ่งของของคนอื่นมาเป็นของตนโดยทุจริตเป็นอกุศลกรรมบถ
สำหรับมิจฉาทิฏฐิ (การเห็นผิด) นั้น มีหลายอย่าง แต่ ทิฏฐิ 3 อย่าง เป็นอกุศลกรรมบถทางใจ ความเห็นผิดอย่างหนึ่งก็คือ อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายเกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุ ความดีหรือความชั่วก็ไม่มีเหตุ
มิจฉาทิฏฐิที่เป็นอกุศลกรรมบถทางใจอีกอย่างหนึ่ง คือ อกิริยทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีกรรมดีและกรรมชั่วที่จะทำให้เกิดผลในอนาคต
มิจฉาทิฏฐิซึ่งเป็นอกุศลกรรมบถทางใจอย่างที่สาม คือ นัตถิกทิฏฐิ ซึ่งเป็นความเห็นว่าผลของกรรมไม่มีและตายแล้วไม่เกิด
พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน
โดย นีน่า วันกอร์คอม

No comments:

Post a Comment