Saturday, January 28, 2017

The Five Khandhas Of Clinging Are Dukkha

Questioner: I have studied the text the monks chant in the morning, about the khandhas of clinging, upadana khandhas. There is clinging to the five khandhas and this is dukkha. What does this mean?

Ajahn Sujin: The five khandhas of clinging are certainly dukkha. So long as there is ignorance of the true nature of the dhammas that appear, there is bound to be happiness and sorrow. The arising of happiness and sorrow is a kind of dukkha because at such moments there is no calm, no freedom from defilements. People do not know the difference between kusala citta (wholesome mind) and akusala citta (unwholesome mind) when panna (wisdom) does not arise. We all enjoy having lobha (attachment). There is no end to the enjoyment of lobha, unless panna discerns the difference between the moment of kusala, when there is nonattachment, and the moment of lobha, when there is pleasure, amusement, desire, enjoyment or clinging.
When panna does not arise, we enjoy defilements, we like to have lobha; it never is enough, no matter whether we experience an object through the eyes, the ears, the nose, the tongue, the bodysense or the mind-door. Generally people do not know that such moments are dukkha, that they are harmful and dangerous. Thus, the five khandhas of clinging are dukkha.
"Five Clinging Aggregates & Self-Identification"
I have heard that on one occasion the Blessed One was staying near Rajagaha in the Bamboo Grove, the Squirrels' Sanctuary. Then Visakha the lay follower went to Dhammadinna the nun and, on arrival, having bowed down to her, sat to one side. As he was sitting there he said to her, "'Self-identification, self-identification,' it is said, lady. Which self-identification is described by the Blessed One?"
"There are these five clinging-aggregates, friend Visakha: form as a clinging-aggregate, feeling as a clinging-aggregate, perception as a clinging-aggregate, fabrications as a clinging-aggregate, consciousness as a clinging-aggregate. These five clinging-aggregates are the self-identification described by the Blessed One."
Saying, "Yes, lady," Visakha the lay follower delighted & rejoiced in what Dhammadinna the nun had said. Then he asked her a further question: "'The origination of self-identification, the origination of self-identification,' it is said, lady. Which origination of self-identification is described by the Blessed One?"
"The craving that makes for further becoming — accompanied by passion & delight, relishing now here & now there — i.e., craving for sensual pleasure, craving for becoming, craving for non-becoming: This, friend Visakha, is the origination of self-identification described by the Blessed One."
"'The cessation of self-identification, the cessation of self-identification,' it is said, lady. Which cessation of self-identification is described by the Blessed One?"
"The remainderless fading & cessation, renunciation, relinquishment, release, & letting go of that very craving: This, friend Visakha, is the cessation of self-identification described by the Blessed One."
"'The way of practice leading to the cessation of self-identification, the way of practice leading to the cessation of self-identification,' it is said, lady. Which way of practice leading to the cessation of self-identification is described by the Blessed One?"
"Precisely this noble eightfold path — right view, right resolve, right speech, right action, right livelihood, right effort, right mindfulness, right concentration: This, friend Visakha, is the way of practice leading to the cessation of self-identification described by the Blessed One."
"Is it the case, lady, that clinging is the same thing as the five clinging-aggregates or is it something separate?"
"Friend Visakha, neither is clinging the same thing as the five clinging-aggregates, nor is it something separate. Whatever desire & passion there is with regard to the five clinging-aggregates, that is the clinging there."
"But, lady, how does self-identification come about?"
"There is the case, friend Visakha, where an uninstructed, run-of-the-mill person — who has no regard for noble ones, is not well-versed or disciplined in their Dhamma; who has no regard for men of integrity, is not well-versed or disciplined in their Dhamma — assumes form (the body) to be the self, or the self as possessing form, or form as in the self, or the self as in form.
"He assumes feeling to be the self...
"He assumes perception to be the self...
"He assumes (mental) fabrications to be the self...
"He assumes consciousness to be the self, or the self as possessing consciousness, or consciousness as in the self, or the self as in consciousness. This is how self-identification comes about."
- Culavedalla Sutta (an excerpt)
"อุปาทานขันธ์ ๕ และ สักกายทิฏฐิ"
ผู้ถาม : จากการศึกษาในบทสวดมนต์ทำวัตรเช้า ที่ท่านว่า อุปาทานักขันธาทุกขา คือ การเข้าไปยึดมั่นในขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ...นี้เป็นอย่างไร
อ. สุจินต์ : เมื่อไม่รู้สภาพความเป็นจริงของธรรมที่ปรากฏ ก็ย่อมยินดียินร้าย ในขณะที่ยินดียินร้ายก็เป็นทุกข์อย่างหนึ่ง เพราะขณะนั้นไม่สงบจากกิเลสเลย ตราบใดที่ปัญญายังไม่เกิดขึ้น ก็ไม่รู้สภาพที่ต่างกันของกุศลจิตและอกุศลจิต ทุกคนชอบโลภะ ไม่หมดความพอใจในโลภะจนกว่าปัญญาจะเห็นความต่างกันของขณะที่เป็นกุศลซึ่งไม่มีโลภะ กับขณะที่เป็นโลภะซึ่งสนุกรื่นเริง ปรารถนา พอใจ ติดข้อง เมื่อปัญญาไม่เกิดก็พอใจในกิเลส พอใจในโลภะ ซึ่งไม่มีวันพอ ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ โดยไม่รู้เลยว่าขณะนั้นเป็นทุกข์ เป็นโทษ เป็นภัย การยึดถืออุปาทานขันธ์ ๕ จึงเป็นทุกข์
อุปาทานขันธ์ ๕ และ สักกายทิฏฐิ
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเป็นสถานที่ให้เหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น วิสาขอุบาสกเข้าไปหาธรรมทินนาภิกษุณีถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
วิสาขอุบาสกครั้นนั่งแล้ว ได้ถามธรรมทินนาภิกษุณีว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายะ สักกายะ ดังนี้ ธรรมอะไรที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายะ?
ธรรมทินนาภิกษุณีตอบว่า ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ ๕ คือรูปูปาทานขันธ์ ๑ เวทนูปาทานขันธ์ ๑ สัญญูปาทานขันธ์ ๑ สังขารูปาทานขันธ์ ๑ วิญญาณูปาทานขันธ์ ๑ อุปาทานขันธ์ ๕ นี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายะ.
วิสาขอุบาสก ชื่นชม อนุโมทนา ภาษิตของธรรมทินนาภิกษุณีว่า ถูกละพระแม่เจ้า ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหาต่อไปว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายสมุทัย สักกายสมุทัย ดังนี้ ธรรมอะไรที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าสักกายสมุทัย?
ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ตัณหาอันทำให้เกิดในภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดยินดี เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหานี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายสมุทัย.
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธ สักกายนิโรธดังนี้ ธรรมอะไรที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธ?
ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ความดับด้วยความคลายกำหนัดไม่มีเหลือ ความสละ ความสละคืน ความปล่อย ความไม่พัวพันด้วยตัณหานั้น นี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธ.
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา ดังนี้ ธรรมอะไรที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา?
ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยะมรรคมีองค์ ๘ คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ ทำการงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ ความเพียรชอบ ๑ ความระลึกชอบ ๑ ความตั้งจิตไว้ชอบ ๑ นี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา.
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นอันเดียวกัน หรืออุปาทานเป็นอย่างอื่นจากอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕?
ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ หาใช่อันเดียวกันไม่ อุปาทานเป็นอย่างอื่นจากอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ก็หาใช่ไม่ ความกำหนัดพอใจในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นอุปาทาน ในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ นั้น.
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็สักกายทิฏฐิมีได้อย่างไร?
ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยะไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีรูปบ้าง ตามเห็นรูปในตนบ้าง ตามเห็นตนในรูปบ้าง ย่อมตามเห็นเวทนา ... ย่อมตามเห็นสัญญา ... ย่อมตามเห็นสังขารทั้งหลาย ... ย่อมตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง ตามเห็นวิญญาณในตนบ้าง ตามเห็นตนในวิญญาณบ้าง อย่างนี้แล สักกายทิฏฐิจึงมีได้.
- คัดมาบางส่วนจาก มัชฌิมนิกาย
มูลปัณณาสก์
จูฬยมกวรรค
๔. จูฬเวทัลลสูตร
Photo courtesy of Amaravati Buddhist Monastery, UK

No comments:

Post a Comment