Wednesday, January 25, 2017

An excerpt of SN 22.2

Peaceful Uplifting Monasteries
Venerable Sāriputta:
“There are, friends, wise khattiyas, wise brahmins, wise householders, and wise ascetics who question a bhikkhu when he has gone abroad—for wise people, friends, are inquisitive: ‘What does your teacher say, what does he teach?’ Being asked thus, friends, you should answer: ‘Our teacher, friends, teaches the removal of desire and lust.’
“When you have answered thus, friends, there may be wise khattiyas … wise ascetics who will question you further—for wise people, friends, are inquisitive: ‘In regard to what does your teacher teach the removal of desire and lust?’ Being asked thus, friends, you should answer: ‘Our teacher, friends, teaches the removal of desire and lust for form, the removal of desire and lust for feeling, perception, mental formations, and consciousness. ’
“When you have answered thus, friends, there may be wise khattiyas … wise ascetics who will question you further—for wise people, friends, are inquisitive: ‘Having seen what danger does your teacher teach the removal of desire and lust for form, the removal of desire and lust for feeling, for perception, for mental formations, and for consciousness?’
Being asked thus, friends, you should answer thus: ‘If, friends, one is not devoid of lust, desire, affection, thirst, passion, and craving in regard to form, then with the change and alteration of form there arise in one sorrow, lamentation, pain, displeasure, and despair. If, friends, one is not devoid of lust, desire, affection, thirst, passion, and craving in regard to feeling, perception, mental formations, and consciousness, then with the change and alteration of feeling, perception, mental formations, and/or consciousness there arise in one sorrow, lamentation, pain, displeasure, and despair. Having seen this danger, our teacher teaches the removal of desire and lust for form, the removal of desire and lust for feeling, for perception, for mental formations, and for consciousness. ’
“When you have answered thus, friends, there may be wise khattiyas … wise ascetics who will question you further—for wise people, friends, are inquisitive: ‘Having seen what benefit does your teacher teach the removal of desire and lust for form, the removal of desire and lust for feeling, for perception, for mental formations, and for consciousness?’
Being asked thus, friends, you should answer thus: ‘If, friends, one is devoid of lust, desire, affection, thirst, passion, and craving in regard to form, then with the change and alteration of form sorrow, lamentation, pain, displeasure, and despair do not arise in one. If one is devoid of lust, desire, affection, thirst, passion, and craving in regard to feeling, to perception, to mental formations, and to consciousness, then with the change and alteration of feeling, of perception, of mental formations, and/or of consciousness sorrow, lamentation, pain, displeasure, and despair do not arise in one. Having seen this benefit, our teacher teaches the removal of desire and lust for form, the removal of desire and lust for feeling, for perception, for mental formations, and for consciousness.’
This is what the Venerable Sāriputta said. Elated, those bhikkhus delighted in the Venerable Sāriputta’s statement.
ท่านพระสารีบุตร:
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็กษัตริย์เป็นบัณฑิตบ้าง พราหมณ์เป็นบัณฑิตบ้าง คฤหบดีเป็นบัณฑิตบ้าง สมณะเป็นบัณฑิตบ้าง เป็นผู้ถามปัญหากะภิกษุผู้ไปไพรัชชประเทศต่างๆ มีอยู่ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็มนุษย์ทั้งหลายที่เป็นบัณฑิต จะทดลองถามว่า พระศาสดาของท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มีวาทะว่าอย่างไร ตรัสสอนอย่างไร? ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดาของเราทั้งหลายตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะ เมื่อท่านทั้งหลายพยากรณ์อย่างนี้แล้ว กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง คฤหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง พึงถามปัญหายิ่งขึ้นไป ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็มนุษย์ทั้งหลายที่เป็นบัณฑิตจะทดลองถามว่า ก็พระศาสดาของท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในสิ่งอะไร
ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดาตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายพยากรณ์อย่างนี้แล้ว กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง คฤหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง พึงถามปัญหายิ่งขึ้นไป ก็มนุษย์ทั้งหลายที่เป็นบัณฑิตจะทดลองถามว่า ก็พระศาสดาของท่านผู้มีอายุทั้งหลายทรงเห็นโทษอะไร จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ?
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมีความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความกระหาย ความกระวน กระวาย ความทะยานอยากในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ยังไม่ปราศจากไปแล้ว โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสย่อมเกิดขึ้น เพราะรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ แปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดาของเราทั้งหลายทรงเห็นโทษนี้แล จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้เมื่อท่านทั้งหลายพยากรณ์อย่างนี้แล กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง คฤหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง สมณะผู้เป็นบัณฑิตบ้าง พึงถามปัญหายิ่งขึ้นไป ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็มนุษย์ทั้งหลายที่เป็นบัณฑิตจะทดลองถามว่า ก็พระศาสดาของท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ทรงเห็นอานิสงส์อะไร? จึงตรัสสอนให้กำจัดให้ฉันทราคะในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.
ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมีความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความกระหาย ความกระวนกระวาย ความทะยานอยากในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณปราศจากไปแล้ว โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ แปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดาของเราทั้งหลายทรงเห็นอานิสงส์นี้แล จึงตรัสสอนให้กำจัดฉันทราคะในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ.
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระสารีบุตร ฉะนี้แล.
Photo courtesy of Sumedharama Forest Monastery, Portugal

No comments:

Post a Comment