Wednesday, February 22, 2017

A few Q&A. Source: Without and Within

Peaceful Uplifting Monasteries 
Image may contain: 1 person
Ajahn Jayasaro was born on the Isle of Wight, England in 1958. He joined Ajahn Sumedho’s community for the Rains Retreat as an anagarika in 1978. In November of that year he left for Wat Pa Pong in Northeast Thailand where he ordained as a novice in the following year, and as a bhikkhu in 1980 with Venerable Ajahn Chah as his preceptor. From 1997 until 2002 Ajahn Jayasaro was the Abbot of Wat Pa Nanachat, the International a Forest Monastery of Thailand. He is now living alone in a hermitage at the foot of Kow Yai mountains, Thailand.

Q: Is there a key feature of the Buddhist attitude to sila (morality)?
AJ: Yes, the emphasis on volition. The Buddha said that morality is volition. An act is determined to be moral or immoral according to the mental factors present when the act is performed. An act prompted by a toxic mental state is automatically bad kamma; the particular nature of the act—the justification for it—affects only the severity of the kamma created. The practice of present-moment awareness of one’s intentions, and the cultivation of the mental states that enable one to refrain from harmful intentions, are vital features of Buddhist morality.
Q: What are the five precepts?
AJ: The five precepts constitute the most basic moral code in Buddhism. They consist of the determination to refrain from:
1 Taking life
2 Stealing and cheating
3 Sexual misconduct
4 Lying
5 Alcohol and all substances drugs.
Almost every ceremony presided over by members of the Sangha includes a passage in which the lay Buddhists present formally request the five precepts from the senior monk. The monk recites the precepts one at a time and the lay Buddhists repeat them after him. The wording of the precept is instructive: ‘I undertake to refrain from taking life (stealing and cheating, etc.) as a means of educating my conduct.'
Q: What are the similarities and differences between the Buddhist moral code and those of the other main religious traditions of the world?
AJ: The actions referred to in the five precepts are dealt with in all of the world’s most important moral codes, if not always in the same way. (The kind of life that is to be respected or definitions of sexual misconduct, for instance, vary from religion to religion.) The unique feature of Buddhist morality is that rather than being perceived as a matter of obedience to a list of commandments issued by a deity, it is seen as a kind of training or education of conduct. Only when precepts are understood in this way and taken on voluntarily do they provide a foundation for the more advanced training of the mind advocated by the Buddha.
In the Buddhist view, immoral actions produce results as naturally and consistently as those that come from putting one’s hand in a fire. Just as most people see the suffering that arises from the latter not as a divine punishment, but as a natural consequence of the nature of fire, the nature of skin and the lack of wisdom of the person who lets the two come into contact, so too does Buddhism understand the suffering that arises from actions that harm self and others.
One of the biggest challenges faced by human societies lies in finding ways to nurture families and communities that are grounded in mutual trust and respect, and in which all of their members feel safe and valued. The Buddha taught that voluntarily refraining from harmful actions and speech has a major part to play in this process.
Q: What is the relationship between keeping precepts and the practice of meditation?
AJ: Progress on the Buddha’s path of awakening is possible only when there is harmony between the inner and outer life. If meditators allow their actions and speech to be influenced by toxic mental states, they find themselves strengthening the very same habits they are seeking to abandon during meditation. Failure to keep the precepts is a major cause for self-aversion, guilt and anxiety. It creates problems in relationships that make life stressful and complicated. Keeping precepts helps to maintain a safe and stable environment that is conducive to Dhamma practice. Keeping precepts frees the mind from remorse, imbues it with a sense of self-respect and general well-being, and prepares it for further progress on the path.
Source: Without and Within
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
"ศีล"
ศีลนั้นมีความหมายหลากหลายนัย ศีลนั้นหมายถึง ความประพฤติที่งดเว้นทางกาย วาจาก็ได้ เรียกว่า วาริตศีล ศีล ยังหมายถึง การประพฤติสิ่งที่สมควรทางกาย วาจา ก็ได้ เรียกว่า จารีตศีล เช่น มีการเลี้ยงดู มารดา บิดา เป็นต้น และศีล ยังหมายถึง ความเป็นปกติ ที่เป็นทั้งกุศลศีล อกุศลศีล แต่เมื่อกล่าวโดยศีลที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติเพื่อละกิเลส ย่อมมุ่งหมายถึงกุศลศีล
ซึ่งสำหรับโดยนัยของศีล 5 นั้น เป็นศีลโดยนัยงดเว้น ที่เป็นวิรัติ ซึ่งจะเป็นศีลข้อใดข้อหนึ่ง ในศีล 5 ขณะนั้นจะต้องมีเจตนาที่จะงดเว้นจากการทำบาป ยกตัวอย่าง เช่น
ศีลข้อที่ 1 ที่เป็นการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ก็คือ เช่น ขณะใดที่ยุงมากัดแล้ว ไม่ตบ ขณะนั้น กุศลศีลที่เป็น ศีลข้อที่ 1 เกิดขึ้น เพราะมีเจตนางดเว้น จากการทำบาป ครับ
ศีลข้อที่ 2 ขณะใดที่มีเงินของคนอื่นอยู่ข้างหน้า แล้วงดเว้นจากการลักขโมย ในขณะนั้น การงดเว้น ชื่อว่า รักษาศีลข้อที่ 2 ครับ
ศีลข้อที่ 3 ขณะใดที่งดเว้นจากการเป็นชู้ภรรยาของผู้อื่น ขณะนั้นก็มีศีลข้อที่ 3 มีคำถามว่า การซื้อบริการทางเพศโดยที่ภรรยาอนุญาตเป็นการผิดศีลข้อที่ 3 หรือไม่ คำตอบคือ การล่วงศีลข้อที่สามของผู้ชายนั้น ไม่ได้อยู่ที่ภรรยาอนุญาตหรือไม่ แต่อยู่ที่ผู้หญิงที่ไปซื้อบริการนั้น หากมีสามีแล้ว ถ้าไม่ได้รับอนุญาตจากสามีของผู้หญิง ผิดศีลข้อ 3 แต่หากสามีของผู้หญิงที่ไปซื้อบริการอนุญาตก็ไม่ผิดศีลข้อที่ 3 ครับ หรือถ้าผู้หญิงที่ขายบริการ ไม่มีสามี แต่พ่อแม่ ไม่ได้อนุญาต และผู้ชายไปซื้อบริการก็ผิดศีลข้อที่ 3 ครับ
ศีลข้อที่ 4 ขณะที่งดเว้นจากการพูดเท็จในขณะนั้น ก็มีศีลข้อที่ 4 ครับ
ศีลข้อ 5 หมายถึง การงดเว้นจากการดื่มสุรา เมรัย ก็คือ รวมสุรา และของมึนเมต่าง ๆ ด้วย ที่เป็นของมึนเมาที่จะทำให้เกิดความเมาเกิดขึ้นได้ เช่น ยาเสพติดประเภทอื่น ๆ ไม่ใช่หมายเฉพาะ สุราเท่านั้น ครับ ซึ่งสุรา ได้แก่ สุรา ๕ อย่าง สุรา ทําดวยแป้ง สุราทําด้วยขนม สุราทําด้วยข้าวสุก สุราผสมเชื้อ สุราที่ปรุงด้วยเครื่องปรุง แม้เมรัยก็มี ๕ อย่าง คือ เมรัยที่ทําด้วยดอกไม้ เมรัยที่ทําด้วยผลไม้ เมรัย ทําด้วยงบน้ำอ้อย เมรัยที่ทําด้วยดอกมะซาง เมรัยที่ปรุงด้วยเครื่องปรุง ดังนั้นชื่อว่า มัชชะ เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งความเมา คือ อาหารหรือเครื่องดื่ม อะไรก็ตาม รวมทั้งยาเสพติด ที่สามารถทำให้เมาได้ สิ่งนั้นเป็นมัชชะ เมื่อบุคคลใดมีเจตนาดื่ม หรือ เสพสิ่งนั้น และเมื่อดื่มหรือเสพ ทานสิ่งนั้น ย่อมล่วงศีล 5 ครับขออธิบายเพิ่มเติมอีกนิดครับ ไม่ได้หมายความว่ามีเจตนาทานของมึนเมาแต่ทานนิดเดียวแต่ไม่เมาจะกล่าวว่า ไม่ผิดศีลข้อ 5 เพราะไม่เมาไม่ได้ครับ เพราะมีเจตนาดื่มหรือทานสิ่งที่สามารถทำให้เมาได้ ไม่ว่าจะทานไปแล้วจะเมาหรือไม่เมา แต่ของที่ทานสามารถทำให้เมาได้ แม้ไม่เมาก็ผิดศีล 5 แล้วครับ
ส่วนขณะใดที่มีเจตนา สมาทานที่จะรักษาศีล ทั้ง 5 ข้อ ขณะนั้น ก็มีศีล 5 ในขณะจิตนั้น ครับ
- อ. ผเดิม

No comments:

Post a Comment